PHP คืออะไร
ในช่วงแรกภาษาที่นิยมใช้งานบนระบบเครือข่าย คือ ภาษา HTML (Hypertext Markup Language) แต่ภาษา HTML มีลักษณะเป็น Static คือ
ภาษาที่มีลักษณะของข้อมูลคงที่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบันที่นิยมใช้ระบบเครือข่าย
Internet เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างกัน
ทำให้ต้องการใช้เว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแบบ Dynamic คือ
เว็บไซต์ที่ข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ
ที่ผู้เขียนเว็บไซต์เป็นผู้กำหนด
และการควบคุมการทำงานเหล่านี้จะกระทำโดยโปรแกรมภาษาสคริปต์ เช่น ภาษา PHP ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
โครงสร้างของภาษา PHP
ภาษา PHP มีลักษณะเป็น embedded script หมายความว่าเราสามารถฝังคำสั่ง
PHP ไว้ในเว็บเพจร่วมกับคำสั่ง(Tag) ของ HTML ได้ และสร้างไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .php,
.php3 หรือ .php4
ซึ่งไวยากรณ์ที่ใช้ใน PHP เป็นการนำรูปแบบของภาษาต่างๆ
มารวมกันได้แก่ C, Perl และ Java ทำให้ผู้ใช้ที่มีพื้นฐานของภาษาเหล่านี้อยู่แล้วสามารถศึกษา
และใช้งานภาษานี้ได้ไม่ยาก
จากตัวอย่าง บรรทัดที่ 6 - 8 เป็นส่วนของสคริปต์ PHP ซึ่งเริ่มต้นด้วย <? ตามด้วยคำสั่งที่เรียกฟังก์ชั่นหรือข้อความ และปิดท้ายด้วย ?> สำหรับตัวอย่างนี้เป็นสคริปต์ที่แสดงข้อความว่า "Hi, I'm a PHP script" โดยใช้คำสั่ง echo ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลของภาษาสคริปต์ PHP
เราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจหนึ่งๆ
โดยเปิดและปิดด้วยแท็ก(Tag) ของ PHP กี่ครั้งก็ได้
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ความสามารถของภาษา PHP
เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบ Open source ผู้ใช้สามารถ Download
และนำ Source code ของ PHP ไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
เป็นสคริปต์แบบ Server Side Script ดังนั้นจึงทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์
ไม่ส่งผลกับการทำงานของเครื่อง Client โดย PHP จะอ่านโค้ด และทำงานที่เซิร์ฟเวอร์
จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาที่เครื่องของผู้ใช้ในรูปแบบของ HTML
ซึ่งโค้ดของ PHP นี้ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นได้
PHP สามารถทำงานได้ในระบบปฎิบัติการที่ต่างชนิดกัน เช่น
Unix, Windows, Mac OS หรือ Risc OS อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจาก PHP เป็นสคริปต์ที่ต้องทำงานบนเซิร์ฟเวอร์
ดังนั้นคอมพิวเตอร์สำหรับเรียกใช้คำสั่ง PHP จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ด้วย
เพื่อให้สามารถประมวลผล PHP ได้
PHP สามารถทำงานได้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายชนิด เช่น Personal
Web Server(PWS), Apache, OmniHttpd และ Internet
Information Service(IIS) เป็นต้น
ภาษา PHP สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object
Oriented Programming)
PHP มีความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลที่หลากหลาย
ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลที่สนับสนุนการทำงานของ PHP เช่น Oracle,
MySQL, FilePro, Solid, FrontBase, mSQL และ MS SQL เป็นต้น
PHP อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างเว็บไซต์ซึ่งทำงานผ่านโปรโตคอลชนิดต่างๆ
ได้ เช่น LDAP, IMAP, SNMP, POP3 และ HTTP เป็นต้น
โค้ด PHP สามารถเขียน และอ่านในรูปแบบของ XML ได้
ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~jeab/40201/ch3.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น